บทความทางวิชาการ

                                Strategic Leaders in Learning for the Future Organization. 

                                                                                                                                         (Surapong Ngamsom, Ph.D) 

We believe that natural evolution has created every human being with the potential for self-learning that contributes to the creation of the environment, culture, and values of that society, which is a dynamic factor that promotes learning. The body of knowledge, communication, and interaction in today's world society has transformed into a digital society. Therefore, the development from their individual learning into a distributed collective within the integrated process to maintain the sustainability of that good social way is of great importance.

      From studying the modes of learning framework of Prof. Richard Elmore, EdX, has been classified into 4 quadrants, namely Hierarchical Individual(HL), Hierarchical Collective(HC), Distributed Individual (DI), and Distributed Collective(DC). which are the basis clarification to classify for identifying the characteristics of leadership in learning and how organizations have analyzed the components of an organizational system in terms of structure, process, and culture, which was synthesized into Harvard's organizational model learning strategy as "PELP Coherence Framework". As well as a combination of concepts and experiences from my initiated EIS model was distributed to develop education in various organizations


       Therefore, my idea of ​​designing an organization to be a leader of learning, first of all, is environmental design, both physically and digitally that supports the learning of members according to the objectives of the organization. It should be taken into account in the layout design, deploying colour,lighting and air on different spaces, that enables or promotes agility and flexibility to adapt to both physical and digital learning media and devices in a variety of situations.This creates an atmosphere that motivates learners/instructors to be emotional and creates challenges that lead to creativity and dynamics. Secondly, along with the adoption of HI(1) and HC(2) learning design models, which can be combined to promote a learning foundation for individuals and communities. It will lead to investigation/development/creation of knowledge from a variety of learning resources in the modes of DI(3) and DC(4) to promote and create values, ethics, and culture of individuals in social communities in the modern world as well as enhancing challenges for sustainable learning. Thirdly, leaders in learning must demonstrate personal qualities of leadership that are curious, courageous, and ethical with a process strategy that takes into account the structural, cultural and systemic elements of an organization that is committed to building trust among its members/community/society as a whole.

    The conclusion of this topic is presented with a visual model of the FPL framework linked below. As a result of learning above, it has been used to promote leaders in various educational institutions/organizations, both formal/informal curriculum and no curriculum. According to the observations of recent studies of students who drop out from public schools, learners from homeschool, and in regular schools which is an example to support the above idea. That communication information can be found on Facebook, the EIS Association of Thailand website,.. etc. by linking to it already in the article, as;-FPL Model 2021

             

  

.


 เราเชื่อว่าวิวัฒนาการตามธรรมชาติได้สร้างมนุษย์ทุกคนให้มีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และค่านิยมของสังคมนั้น ซึ่งเป็นพลวัตรปัจจัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และทุกวันนี้ องค์ความรู้ การสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ในสังคมโลกปัจจุบันได้กลายเป็นสังคมดิจิทัล ดังนั้นการพัฒนาจากการเรียนรู้ของแต่ละคนไปสู่ส่วนรวมแบบกระจายภายในกระบวนการบูรณาการเพื่อธำรงค์รักษาความยั่งยืนของวิถีทางสังคมที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง

     จากการศึกษารูปแบบกรอบการเรียนรู้ ของศาสตราจารย์ ริชาร์ด เอลมอร์ ได้จำแนกออกเป็น 4 Quadrants ได้แก่ Hierarchical Individual(HL), Hierarchical Collective(HC), Distributed Individual (DI) และ Distributed Collective(DC) อันเป็นพื้นฐานสำหรับการระบุลักษณะของความเป็นผู้นำในการเรียนรู้และวิธีที่องค์กรวิเคราะห์องค์ประกอบของระบบองค์กรในแง่ของโครงสร้าง กระบวนการ และวัฒนธรรม ซึ่งถูกสังเคราะห์เป็นกลยุทธ์การเรียนรู้แบบจำลององค์กรของฮาร์วาร์ดในชื่อ "PELP Coherence Framework" พร้อมทั้งได้นำเอาแนวคิดและประสบการณ์จากแบบจำลอง EIS ที่ข้าพเจ้าริเริ่มมาเผยแพร่เพื่อพัฒนาการศึกษาในองค์กรต่างๆ

ดังนั้น ความคิดของข้าพเจ้าในการออกแบบองค์กรให้เป็นผู้นำการเรียนรู้ ประการแรกเลย คือการออกแบบสภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งทางกายภาพและด้านดิจิทัล ที่รองรับการเรียนรู้ของสมาชิกตามวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยคำนึงถึงการสร้างสรรค์ การกำหนดสี/แสง/อากาศ บนพื้นที่ต่างๆ มีความหลากหลาย ที่ทำให้เกิดหรือสนับสนุน/ส่งเสริมความคล่องตัว/ความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับสื่อการเรียนรู้ทั้งทางกายภาพและทางดิจิทัลในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อจูงใจผู้เรียน/ผู้สอนให้มีอารมณ์และสร้างความท้าทายที่นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์จนกลายเป็นพลวัตร ประการที่สอง พร้อมกับการนำรูปแบบการออกแบบการเรียนรู้ HI(1) และ HC(2) มาใช้ ซึ่งสามารถผสมผสานเข้าด้วยกันได้ เพื่อส่งเสริมให้เป็นรากฐานการเรียนรู้ของบุคคลและสังคมให้นำไปสู่การค้นคว้า/พัฒนา/สร้างความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในรูปแบบ DI(3) และ DC(4) เพื่อส่งเสริมและสร้างค่านิยม จริยธรรม และวัฒนธรรมของบุคคลในชุมชนสังคมในโลกสมัยใหม่ อีกทั้งเสริมสร้างความท้าทายของการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และประการที่สาม ผู้นำด้านการเรียนรู้ต้องแสดงออกซึ่งคุณลักษณะส่วนตัวด้านภาวะความเป็นผู้นำที่มีความกระหือกระหาย กล้าตัดสินใจ และมีคุณธรรมด้วยกลยุทธในกระบวนการที่คำนึงถึงองค์ประกอบเชิงโครงสร้าง วัฒนธรรม และ ระบบ ขององค์กรนั้นๆ ที่มุ่งมั่นสร้างความเชื่อให้กับสมาชิก/ชุมชน/สังคมโดยรวมได้  

บทสรุปของหัวเรื่องนี้ข้างต้นได้นำเสนอด้วยภาพของกรอบแนวคิด FPL ดังลิงค์ข้างล่างนี้  ซึ่งผลจากการเรียนรู้ ได้นำไปส่งเสริมผู้นำในสถานศึกษา/องค์กรต่างๆ ทั้ง Formal/unschools/Informal curriculum และจากข้อสังเกตของการศึกษาล่าสุด ของผู้เรียน ที่ dropout จาก public schools และผู้เรียนจาก Homeschool อันเป็นตัวอย่างการสนับสนุนความคิดดังกล่าวข้างต้น ผู้สนใจเพิ่มเติมสามารถสืบค้นข้อมูลการสื่อสารได้ใน Facebook, เว็บไซด์ของสมาคม EIS แห่งประเทศไทย,... เป็นต้น โดยได้เชื่อมต่อไว้แล้วในบทความความฝัน “กลยุทธ์ผู้นำการเรียนรู้แห่งโลกอนาคต” นี้ FPL Model 2021