Sharing innovation

SHARING INNOVATION

กิจกรรม Sharing Innovation เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนออนไลน์ และสร้างนวัตกรรมการสอนที่ทันสมัยด้วยตนเอง ซึ่งแบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย คือ

1. กิจกรรม Sharing Experiences; Online Teaching ที่จริงไม่ยาก และ

2. กิจกรรม Sharing Innovation; นวัตกรรมสร้างได้ by me


Activity 1: Sharing Experiences; Online Teaching ที่จริงไม่ยาก

ขอเชิญเพื่อนครูและผู้สนใจทุกท่าน ร่วมกิจกรรมพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอน online กับเครือข่ายครู EIS ทั่วประเทศ

  • เปิดใจเกี่ยวกับการสอนออนไลน์

  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนออนไลน์

  • สร้างนวัตกรรมการสอนที่ทันสมัยด้วยตนเอง

  • เผยแพร่เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนครู

เวทีนี้เปิดรับสมัครครูทุกท่าน เข้าร่วมกิจกรรมและรับเกียรติบัตร

**การนำเสนอผลงานการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (เทคนิค/สื่อ/เทคโนโลยี) คนละ 20 นาที โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าฟังร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 10 นาทีรวม 30 นาทีสมัครได้ที่ https://bit.ly/share-eis

**เข้าร่วมฟังเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วันที่ 12 สิงหาคม 2564 เวลา 9.00-15.00 น.ทาง https://bit.ly/meet-eis

Activity 2: Sharing Innovation; นวัตกรรมสร้างได้ by me

-ผู้ผ่านการนำเสนอเทคนิคการสอน ส่งผลงานในรูปแบบเอกสารตามรูปแบบที่สมาคม EIS แห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อรับเกียรติบัตรเหรียญทอง เงิน ทองแดง และเงินรางวัล รวมทั้งเผยแพร่ใน website ของสมาคม


  1. การนำเสนอผลงานในรูปแบบเอกสารตามหัวข้อ ดังนี้

1) สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา

สภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนยุคโควิด เช่น พฤติกรรมผู้เรียน ครู ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คุณภาพผู้เรียนที่ต้องการพัฒนา

2) การออกแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

กำหนดเป้าหมายในการพัฒนา กำหนดกรอบแนวคิด/วิธีการของตนเองในการสร้างนวัตกรรม หรือการประยุกต์ใช้/สื่อ/เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว ในการพัฒนาที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างปัญหา แนวคิด หลักการและทฤษฎีที่ใช้ วิธีการพัฒนา และผลสำเร็จที่พึงประสงค์

3) ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนา

การดำเนินการพัฒนา และหาคุณภาพตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการพัฒนา

4) ผลงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

ผลการใช้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

5) สรุปสิ่งที่เรียนรู้และการปรับปรุงให้ดีขึ้น

ข้อคิด ประสบการณ์ องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนา ข้อเสนอแนะในการแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาผลงานนวัตกรรมให้ดีขึ้น

  1. จัดทำเป็นไฟล์ pdf ไม่เกิน 10 หน้า และบทคัดย่อ ไม่เกิน 1 หน้า

  2. อัดคลิปวิดีโอประกอบนวัตกรรม เช่น บันทึกภาพการสอน หรือ ผลการพัฒนาของผู้เรียน (ถ้ามี)

  3. ส่งมาที่ wanthana.chu@eisth.org , sirada.pro@eisth.org และ kittisakdee@eisth.org




STEAM EDUCATION Art model

From the materials used

Mr. Kanatip Thachan Teacher expert

Basic technical department

Chiang Rai Technical College

STEAM Education เพิ่มมูลค่าวัสดุฝึกเหลือใช้จากใบงานฝึกของสาขางานเครื่องมือกล

นายคณาธิป ทะจันทร์ สาขาวิชาเทคนิคพื้นฐาน

วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย